ประวัติความเป็นมา

                  สายวิชาวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นการภายในของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา สายวิชาฯ มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ในหลักสูตรที่เปิดสอนของคณะเองและให้บริการรายวิชาพื้นฐานสำหรับนิสิตคณะต่าง ๆ ในวิทยาเขตกำแพงแสน ทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา โดยร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขา พฤกษ์เศรษฐกิจ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพันธุวิศวกรรมและสาขาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

                  ในปีการศึกษา 2539 สายวิชาฯ เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปเป็นรุ่นแรก โดยจัดการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1-2 และเปิดโอกาสให้นิสิตเลือกเรียนเน้นหนักในแผนการเรียนต่าง ๆ ที่ตนสนใจในชั้นปีที่ 3-4 อาทิ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แผนการเรียนเคมี แผนการเรียนฟิสิกส์ประยุกต์ แผนการเรียนสถิติ และแผนการเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยปีการศึกษา 2551 นี้ สายวิชาฯ จะผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นรุ่นสุดท้าย ทั้งนี้ งดรับนิสิตใหม่หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นมา รวมผลิตบัณฑิตทั้งสิ้น 10 รุ่น

                  ปีการศึกษา 2541 คณะเปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพฤกษ์เศรษฐกิจ  โดยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสายวิชาวิทยาศาสตร์

                  ปีการศึกษา 2547 สายวิชาฯ  สร้างหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาตรี จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และได้รับอนุมัติให้เปิดสอนตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่1/2547 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 โดยกำหนดให้เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา

                  ปีการศึกษา 2549 สายวิชาฯ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพิ่มอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

                  ปีการศึกษา 2550 สายวิชาฯ  เปิดสอนเพิ่มอีก 4 หลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรปริญญาตรี 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวผลิตภัณฑ์ และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวผลิตภัณฑ์

                  การบริหารจัดการระยะแรกในปี พ.ศ.2538-2540 สายวิชาวิทยาศาสตร์บริหารงานโดยมี”ผู้ประสานงานด้านวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ ”เป็นผู้ประสานงานในด้านต่าง ๆ โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร คือ อ.ดร.เกษร ทวีเศษ เป็นผู้ประสานงานคนแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2538-7 กุมภาพันธ์ 2539 และ อ.ศิริลักษณ์ เอี่ยมธรรม เป็นผู้ประสานงานคนถัดมา ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539-11 กันยายน 2540

                   ต่อมาในปี พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน สายวิชาฯ มีการปรับเปลี่ยนการบริหารงานจากการบริหารงานโดย ”ผู้ประสานงานด้านวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์” มาเป็น ”หัวหน้าสายวิชาวิทยาศาสตร์” โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร ดังนี้

                  วาระที่ 1 อ.ดร.มาลี ศรีสดสุข ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2540-10 เมษายน 2542

                  วาระที่ 2 อ.วันเพ็ญ เหล่าศรีไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2542 -

4 มกราคม  2543

                  วาระที่ 3 ผศ.จิตราภรณ์ ธวัชพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543               - 28 กุมภาพันธ์  2547

                  วาระที่ 4  อ.ดร.พุทธพร ส่องศรี ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547-14 มิถุนายน 2550

                  วาระที่ 5 อ.ดร.ศลยา  สุขสอาด ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550-30 ตุลาคม 2551

                  โดยการบริหารงานระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 16 พฤศจิกายน 2551 มีรองคณบดีฝ่ายบริหาร ผศ.วุฒิพงษ์  ศิลปวิศาล รักษาราชการแทนหัวหน้าสายวิชาฯ และปัจจุบันดำเนินการบริหารจัดการโดย ผศ.ดร.ธนวรรณ  พาณิชพัฒน์ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา โดยมีวาระการบริหารงาน 4 ปี   ปีการศึกษา 2551 สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาฟิสิกส์ และ สาขาวิชาจุลชีววิทยา ได้ขอแยกจากสายวิชาวิทยาศาสตร์ ออกมาเป็นโครงการจัดตั้งสายวิชา เคมี ฟิสิกส์ และ จุลชีววิทยา ตามลำดับ

                  ปัจจุบันสายวิชาวิทยาศาสตร์มี สาขาวิชาทั้งสิ้น  5  สาขาวิชาดังนี้ สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ สาขาวิชาพันธุศาสตร์ และ สาขาวิชาสัตววิทยา มีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 40 คน จำแนกเป็นอาจารย์ 29 คน (ข้าราชการประจำ 12 คน พนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณ 17 คน) และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนและช่วยวิชาการ จำนวน 7 คน (ลูกจ้างประจำ 2 คน  ลูกจ้างชั่วคราว 2 คน